วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสัมมนา

กำหนดการ งานสัมมนา
“ Comm. Arts 2010 นิเทศศาสตร์ : สู่สากล ”
ครบรอบ 25 ปี คณะวิทยาการจัดการ
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553
ณ อาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
...................................................
8.00 – 9.00 น. ลงทะเบียน

9.00- 9.30 น. พิธีเปิด พร้อมรับชมวีดีทัศน์ผลงานนิเทศศาสตร์

- พิธีเปิดโดย รองศาสตราจารย์ พัชรี สวนแก้ว (รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา)
- กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราพร สุวรรณเกษม (คณบดีคณะวิทยาการจัดการ)

9.30 - 9.45 น. การแสดงของนักศึกษาชุด “ โลกาภิวัฒน์ ”

9.45- 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.00-11.00 น. บรรยายพิเศษ หัวข้อ “นิเทศศาสตร์ ในอนาคต” โดย คุณ สัตตกมล วรกุล (นายกสมาคมนักข่าวบันเทิง)

11.00 -12.00 น. โดย พ.อ.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (ที่ปรึกษาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-13.15 น. การแสดงของนักศึกษาชุด “ มหานคร”

13.15-14.30 น. การเสวนา หัวข้อ “นิเทศศาสตร์ก้าวเร็ว ก้าวไว ก้าวอย่างไร สู่สากล”
โดยวิทยากร ดร. วิเชียร ก่อกิจกุศล ( ผู้สื่อข่าว )
คุณ ธนันทร์กรณ์ วงศ์ทิริวัตร ( ผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณา )
สินเจริญบราเธอร์ ( ศิลปิน )
ดำเนินรายการโดย คุณสมโภชน์ โตรักษา ( ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต )

14.30- 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น. การเสวนา(ต่อ)

16.00 - 16.30 น. สรุปซักถาม พิธีปิด

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมโครงการ "ร่วมใจ ร่วมบุญ ถวายพ่อหลวง"

ณ.วัดมณีสรรค์ จ.สมุทรสงคราม และ วัดศรีศรัทธาธรรม จ.สมุทรสงคราม

ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

เวลา 08.00 เป็นต้นไป

ซึ่งโครงการนี้จัดทำโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ชั้นปีที่ 3 แขนงประชาสัมพันธ์

ติดต่อสอบถาม 086-7682752 ประธานโครงการ

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ส่งงานแนะนำบุคคล

นักอนุรักษ์ไทย ผู้ที่รักป่าไม้และธรรมชาติด้วยกาย วาจา และใจ
คุณสืบ นาคะเสถียร หรือนามเดิม สืบยศ

เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร อดีต ผู้ว่าราชการ จังหวัดปราจีนบุรี
มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน คือ
คุณสืบ เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก ๒ คน คือ คุณกอบกิจ นาคะเสถียร และคุณกัลยา รักษาสิริกุล คุณสืบมีบุตรสาว ๑ คน ชื่อนางสาวชินรัตน์ นาคะเสถียร ปัจจุบันอายุ ๒๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๔)
ชีวิตการทำงาน
ในวัยเด็กสืบช่วยแม่ทำนาโดยไม่เคยปริปากบ่นส่วนเรื่องเรียนก็มีผลการเรียนดีมาตลอดสืบ นาคะเสถียร เรียนจบปริญญาตรีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างเรียน เป็นที่ทราบดีว่า สืบมีใจรักศิลปะ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต หลังเรียนจบ เริ่มงานแรกที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ หลังจากนั้นได้เรียนต่อระดับปริญญาโท สาขาวนวัฒน์วิทยา คณะวน-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเรียนจบ ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ ในตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ เมื่อปี 2518 หลังทำงานได้ 3-4 ปี สืบได้ทุนไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จกลับมา ได้รับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จ.ชลบุรี กระทั่งปี 2526 สืบได้ขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว ในปี 2529 สืบได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี สืบทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลานอย่างเต็มที่ หากงานไหนมีความเสี่ยง สืบจะทำเอง เพื่อไม่ให้ลูกน้องได้รับอันตราย สืบ นอกจากจะเป็นห่วงเป็นใยลูกน้องแล้ว ยังเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ทำอะไร ต้องทำให้ดีที่สุด โดยเฉพาะการช่วยชีวิตสัตว์ป่าและมักจะพูดเสมอว่า”ป่าไม้..แม้ถูกทำลาย ก็อาจจะงอกขึ้นใหม่ได้ แต่สัตว์ป่าถูกทำลายแล้ว ไม่สามารถฟื้นคืนได้ “ในเวทีอภิปรายหลายๆ แห่ง แกมักใช้คำพูดว่า “ผมขอพูดแทนสัตว์ป่าทั้งหลาย”

…………………………………………………………………………

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

คำกล่าวสุนทรพจน์

สุนทรพจน์
สุนทรพจน์ ณ พิธีเปิดการประชุมความร่วมมือระหว่างไทย – ลาว เพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืน
สุนทรพจน์ของนายเอียน พอร์เตอร์
ผู้อำนวยการธนาคารโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ณ พิธีเปิดการประชุมความร่วมมือระหว่างไทย – ลาวเพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืน
โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ
วันที่ 7 กันยายน 2550
ฯพณฯ ดร. ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ฯพณฯ ดร. บอสายคำ วงดารา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและแร่ธาตุ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมเป็นสักขีพยานต่อเหตุการณ์ที่สำคัญมากเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ความร่วมมือของทั้งสองประเทศนี้ และผมขอแสดงความชื่นชมต่อ ฯพณฯ ดร. บอคำสาย และ ฯพณฯ ดร. ปิยะสวัสดิ์ ที่ได้ริเริ่มให้มีการประชุมนี้เกิดขึ้น
สาเหตุที่ทำให้การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งต่อภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งต่อผู้แทนของรัฐบาลต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทในงานพัฒนาของทั้งสองประเทศนั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน
ประการแรก การประชุมครั้งนี้นับว่ามีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ความร่วมมือของทั้งสองประเทศ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการพัฒนาของตนเองได้
ประการที่สอง การประชุมในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเราเองจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในอดีต รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงนโยบายของแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การส่งเสริมคุณภาพของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้โครงการเหล่านั้นดำเนินไปในแนวทางที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประการสุดท้าย การที่พวกเรามารวมตัวกัน ณ ที่นี้ เป็นการตอกย้ำความสำคัญของการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลาว ที่จะต้องคำนึงถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทางการเงิน ทางสังคม และทางสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป
ความร่วมมือระหว่างลาวกับไทยนั้นได้ดำเนินมาเป็นเวลานานร่วมสองทศวรรษแล้ว และประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองก็ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกันจากความร่วมมือนี้ การประชุมในครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสอันดีงามโอกาสหนึ่งที่จะช่วยให้ความร่วมมือที่มีมานานนั้นแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
การจัดหาไฟฟ้าพลังน้ำที่ “สะอาด” ให้แก่ประเทศไทยนั้น จะช่วยให้รัฐบาลไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตไปได้อย่างรวดเร็วดังที่เป็นมาในอดีต และจะช่วยให้ประชาชนใน 17 จังหวัดทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศนั้น ได้มีไฟฟ้าใช้ในราคาที่เหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและในโลก
ในขณะเดียวกัน การสำรวจแหล่งพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำนั้น ก็จะช่วยให้ลาวสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลาวสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ และสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ในปี 2020 ตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ สำหรับประเทศลาวนั้น นี่คือการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาประเทศในแบบที่ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศโดยรวม อีกทั้งยังช่วยให้ประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนานั้นสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้
สำหรับประเทศไทย นี่คือการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทุกฝ่ายในอันที่จะสร้างความมั่นใจว่า พลังงานที่ไทยจะรับซื้อจากลาวในอนาคตนั้นต้องเป็นพลังงานที่ “สะอาด” หมายถึงพลังงานที่ไทยมีส่วนช่วยให้ลาวพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นพลังงานที่ไม่เป็นโทษต่อสภาพแวดล้อมและประชากรลาวโดยรวม ความร่วมมือระหว่างลาว-ไทยที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่มารวมกันอยู่ ณ ที่นี้ด้วย
สำหรับผู้ดำเนินโครงการจากภาคเอกชนและผู้ให้การสนับสนุนทางการเงิน ความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืนนี้ ทำให้เกิดรายได้จำนวนมาก แล้วยังเป็นความร่วมมือที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ถึงแม้ว่าบางท่านอาจจะเคยพูดถึงมาตรการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มากับโครงการในลักษณะนี้ว่าเป็น “ภาระ” มาก่อนก็ตาม แต่การที่พวกท่านมารวมตัวกัน ณ ที่นี้เป็นจำนวนมาก ก็เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณไปในตัวว่า จริง ๆ แล้วโครงการแบบนี้ก็ยังให้ผลประโยชน์ทางการเงินที่ดึงดูดใจอยู่ สำหรับองค์กรในภาคประชาสังคม การประชุมนี้เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาจากมุมมองของเขา ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงบทบาทของหุ้นส่วนในการพัฒนาอย่างแท้จริง
สำหรับตัวแทนจากสถานทูตและองค์กรเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงธนาคารโลกเอง ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืนนั้น ก็เปิดโอกาสให้พวกเราได้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องต่อโครงการที่ปกป้องสภาพแวดล้อมและยังประโยชน์ต่อชุมชนในระดับท้องถิ่น
การที่เรามารวมตัวกันอยู่ ณ ที่นี้นั้น ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของเราที่จะก้าวไปในทิศทางที่ควรจะไป เพื่อให้โครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในท้องถิ่น เมื่อพูดมาถึงตรงนี้แล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอ่ยถึงโครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งเป็นตัวอย่างล่าสุด และเด่นชัดที่สุด ของการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืน จนทำให้นิตยสารนิวสวีค ซึ่งเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่ทรงอิทธิพลฉบับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ถึงกับเรียกเขื่อนน้ำเทิน 2 นี้ว่าเป็นเขื่อนที่ “ดีกว่าและอ่อนโยนกว่า” เขื่อนใดใดที่เคยมีการสร้างมาแล้วในอดีต
โครงการเขื่อนน้ำเทิน 2 นี้ คือโครงการที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบดีขึ้นกว่าเก่า ทำให้รัฐบาลลาวได้มีโอกาสสร้างรายได้เข้าประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้ลุ่มน้ำที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของลาวได้รับการปกป้อง ทำให้ผู้ลงทุนได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตามที่คาดการณ์ไว้ และทำให้ประเทศไทยสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของตนได้ โครงการนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือระหว่างไทย – ลาว ที่เริ่มขึ้นจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน – หินบูน และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยโฮ
การประชุมในวันนี้เปิดโอกาสให้เราได้นำประสบการณ์ดี ๆ เหล่านี้ รวมทั้งบทเรียนจากในอดีต เข้ามาใช้ในการวางเป้าหมายของการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในอนาคตร่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ยั่งยืน
การประชุมครั้งนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย และจากชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม หรือไม่ได้แรงสนับสนุนจากบริษัทเอกชนที่มีความรับผิดชอบ รวมทั้งจากผู้แทนของสถานทูตและองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทในงานพัฒนา ที่สำคัญ การประชุมในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทางการเงิน ทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อม หากเราสามารถเลือกทั้งหมดนี้ได้ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกัน
ขอบคุณ

ส่งงานคำกล่าวปิดงาน

คำกล่าวปิดงาน
มหกรรม ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติครั้งที่ 6: Linux Empowermentวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2547ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สื่อมวลชน และผู้ร่วมงานทุกท่าน
ผม ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอ แสดงความยินดีในความสำเร็จของการจัดงาน มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติครั้งที่ 6: Linux Empowerment ซึ่งเป็นงานที่มุ่งเน้นให้ ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการขนาดย่อม ได้รับทราบถึงทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ใน ส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกระทรวงที่มี บทบาทหลักในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยมอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้าน โอเพนซอร์ส รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้กันมากขึ้นด้วยซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ฟรี ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เป็นกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะเกิดจากการพัฒนาโดยประชาคมขนาดใหญ่ซึ่งมาจากทั่วโลก ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ภาษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเอกชนรายใหญ่ๆ หลายราย รวมทั้งภาคการศึกษาคือ สถาบันการศึกษาทั่วโลก ก็ร่วมสนับสนุนด้วย ส่วนความสามารถของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้น ท่านคงได้รับทราบจากวิทยากรแต่ละช่วง รวมทั้งบูธนิทรรศการด้านนอกแล้ว
ประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีหลายประการ คือ
1. ประเทศชาติ ลดการนำเข้าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีเราต้องจ่ายหลายพันล้านบาทเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ ยิ่งถ้าต้องซื้อให้ครบตามจำนวนเครื่องจริงๆ จะต้องใช้เงินปีละนับหมื่น หรือแสนล้านบาท
2. ประเทศชาติได้รับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ระดับโลก โดยลงทุนน้อยมาก ด้วยการส่งเสริมให้ศึกษาและร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้มากๆ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้โดยลัด เพราะเข้าไปศึกษาได้ตั้งแต่วางโครงการ การออกแบบ การเขียนโค้ดโปรแกรม การทดสอบหาข้อผิดพลาด ฯลฯ
3. คนไทยใช้ซอฟต์แวร์ในราคาถูกลง ปัจจุบัน คนไทยต้องซื้อซอฟต์แวร์ยอดนิยมที่ใช้งานกันทั่วไป ในราคาแพงมาก ปีที่แล้วมีการวิจัยของต่างประเทศพบว่า เมื่อเทียบกับ GDP แล้ว โดยเฉลี่ยคนไทยต้องใช้เงินเดือน 3.59 เดือน ถึงจะซื้อซอฟต์แวร์ยอดนิยมชุดนั้นได้ ซึ่งยังดีกว่าบางประเทศ ต้องใช้ถึง 39.76 เดือน ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เพียง 0.19 เดือนเท่านั้น
4. ลดการผูกขาด ลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีผลกระทบสูงมาก จนบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ยังยอมรับว่า ลินุกซ์คือคู่แข่งที่สำคัญ ผลที่เกิดขึ้นคือ มีการลดราคาซอฟต์แวร์ชุดพิเศษ สำหรับประเทศในกลุ่มที่ 3 ซึ่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งราคาลดลงมาถึง 10 เท่าเลยทีเดียว ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน
5. การวิจัยและพัฒนาจากภาครัฐและภาคการศึกษา ควรสนับสนุนให้ เผยแพร่ด้วยวิธีโอเพนซอร์ส เพื่อให้ผู้อื่น รับไปพัฒนาต่อได้ ทำให้ไม่ต้องพัฒนาจากศูนย์ ในขณะเดียวกัน ก็มีกลไกที่จะคุ้มครองความเป็นเจ้าของได้ ซึ่งเนคเทคก็เริ่มดำเนินการไปบางส่วนแล้ว
บทบาท การวิจัยและพัฒนาด้านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นี้ กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นผู้ดำเนินการโดยได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวกับโอเพนซอร์สมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลงานเด่นๆ คือ- ลินุกซ์ซิส (Linux SIS) สำหรับใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ในโรงเรียน เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการเครือข่ายโรงเรียน- ลินุกซ์ทะเล เพื่อการใช้งานบนคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป หรือโน้ตบุ๊ก- ออฟฟิศทะเล สำหรับใช้เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานในสำนักงาน- พัฒนาลินุกซ์ทะเลสำหรับคอมพิวเตอร์ไอซีทีเพื่อประชาชน ในปีที่ 1 ซึ่งติดตั้งลินุกซ์ทะเลพร้อมใช้ในเครื่องถึงประมาณ 100,000 เครื่อง คิดเป็น 80% ของจำนวนเครื่องทั้งหมด ส่วนในปีที่ 2 ซึ่งกำลังดำเนินโครงการ มี การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล ประมาณ 50%- โครงการ School Net ผลักดันการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยจัด อบรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส 26 โรงเรียน ผลคือ มี 18 โรงเรียน สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง- สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มองค์กร หน่วยงาน และบริษัทเอกชนเกี่ยวกับโอเพนซอร์ส เพื่อก่อตั้งสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย- จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้สนใจระบบปฏิบัติการลินุกซ์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ทำงานได้บนลินุกซ์ โดยจัดประกวดแข่งขันติดตั้งระบบปฏิบัติการลินุกซ์ และประกวดการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์ ซึ่งจะจัดทุกปี- สนับสนุนโครงการโรงเรียนในฝัน โดยจัดหาเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ ผู้ดูแลระบบ เพื่อให้บริการเว็บโรงเรียนต้นแบบ 921 โรง และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาลินุกซ์ซิสรุ่นใหม่ เพื่อเป็นเซิร์ฟเวอร์ต้นแบบ สำหรับใช้ในสถานศึกษาโดยเฉพาะด้วยสุด
ท้ายนี้ ผมขอของคุณทุกท่านที่ช่วยในการจัดงานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติ ครั้งที่ 6 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท แอปเปิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไอซ์ โซลูชั่น จำกัด หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ สมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย และอีกหลายๆ หน่วยงานที่ร่วมนำผลงานมานำเสนอในงานนี้ และ ขอบคุณผู้ที่มาร่วมงานทุกท่าน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นับจากวันนี้ไป คนไทยจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์อย่างถูกต้อง มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่หลากหลายและมีคุณภาพใช้ และใช้กันมากขึ้นต่อไป ขอบคุณครับ

ส่งงานคำล่าวเปิดงาน

คำกล่าวเปิดงาน

คำให้โอวาทของประธานในพิธี


ท่านผู้กล่าวรายงาน,ผู้เข้าอบรมประชุมสัมมนาทุกท่าน ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมในครั้งนี้
ปัญหาทางสังคมจิตใจคือ ปัญหาที่มีผลกระทบจากปัจจัยทางสังคมจิตใจหรือปัจจัยเสี่ยงเป็นภาวะกดดันต่างๆที่ทำให้คนไม่มีความสุข ศักยภาพลดลงจนไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ
ปัญหาทางสังคมจิตใจมีผลกระทบต่อทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทางด้านจิตใจ ร่างกายความร่วมมือ และความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุข หากไม่ตระหนักถึงความสำคัญและให้การช่วยเหลือจะทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความสำคัญ และดูแลชาวบ้าน โดยใช้ทักษะการสื่อสาร คือ การพูด และการฟังสำรวจปัญหาที่มีผลกระทบจากปัจจัยทางสังคม จิตใจ โดยมีพื้นฐานอยู่บนสัมพันธภาพที่ดี ยึดผู้มีปัญหาเป็นจุดศูนย์กลาง ติดตามอารมณ์ ความรู้สึก จนพบว่าเขาตอบสนองต่อปัจจัยที่มากระทบอะไร หากเป็นปัญหาจึงให้ความช่วยเหลือ
การตอบสนองต่อปัจจัยทางสังคมจิตใจของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน บางคนพบว่า มีปัญหามากหาทางออกไม่ได้ แต่บางคนสามารถจัดการกับปัญหาได้ เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนนั่นคือเป็นผู้มองโลกในแง่ดีมีความสนใจด้านสุขภาพอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ มีความสนใจความเป็นไปในสังคมและชุมชน มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและสังคม อย่างไรก็ตามการเฝ้าระวังคนกลุ่มนี้ก็มีความสำคัญ เนื่องจากสักวันหนึ่งปัจจัยทางสังคมจิตใจจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มากระทบอาจรุนแรงขึ้น จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรให้การดูแล โดยสนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนนั้นให้อยู่คงทน และดูแลทางสังคมจิตใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันปัญหา เป็นการลดความซับซ้อนของปัญหาในอนาคต
การดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีองค์ประกอบที่สำคัญ
1.ความรู้ความเข้าใจ ปัญหาทางสังคมจิตใจ
2.ด้านเจตคติ ประกอบด้วย ความตระหนักและความเห็นอกเห็นใจ
3.ด้านทักษะ ประกอบด้วย ความไวต่อการรับรู้ปัญหา ความเห็นอกเห็นใจ
และความสามารถในการสื่อสาร
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแก่เวลาแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดการอบรมครั้งนี้ ณ บัดนี้


ส่งงานคำกล่าวรายงาน

คำกล่าวรายงาน
อบรมสุขภาพจิตและยาเสพติด

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมใคร่ขอกล่าวรายงานการเป็นมาของการจัดอบรมในครั้งนี้
ดังต่อไปนี้-
จากผลการ Ranking ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ในรอบที่ 1/2550 ผลปรากฏว่างานสุขภาพจิตและยาเสพติดผลสรุปของคะแนนอยู่ในขั้นต้องแก้ไข ทางเครือข่ายกันทรลักษ์ – เบญจลักษ์ จึงมีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของสถานีอนามัยเครือข่ายเพื่อหารือหาสาเหตุและแนวทางในการพัฒนางาน ผลจากการประชุมพบว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจงานเท่าที่ควร เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคลากรผู้รับผิดชอบงานระดับ อำเภอ ตำบล และมีการเปลี่ยนแปลงรายงานบ่อย จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจตรงกัน เครือข่ายบริการสุขภาพกันทรลักษ์ – เบญจลักษ์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอและระดับตำบลเข้าใจขอบเขตและกระบวนการของงานสุขภาพจิตและยาเสพติด
2.เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอและตำบลสามารถจัดทำรายงาน ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
3.เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้
4.เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอและระดับตำบล มีทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนตรงตามตามตัวชี้วัด
เป้าหมาย
จัดอบรมให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการของงานสุขภาพจิต ตัวชี้วัดการดำเนินงาน การจัดทำรายงาน ดังนี้-
1.ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติดระดับอำเภอ
ของอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอเบญจลักษ์ จำนวน 10 คน
2.ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติดระดับสถานีอนามัย
ของอำเภอกันทรลักษ์ จำนวน 33 คน
3.ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติดระดับสถานีอนามัย
ของอำเภอเบญจลักษ์ จำนวน 7 คน
รวมทั้งสิ้น 47 คน
คณะวิทยากรและผู้ดำเนินการอบรมประกอบไปด้วย
1.จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
2.จากโรงพยาบาลกันทรลักษ์
3.จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์
4.จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเบญจลักษ์
บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้วจึงใคร่ขอให้ท่านประธานกล่าวให้โอวาทและเปิดการอบรมต่อไป